ครั้งที่ 15
บันทึกอนุทิน
วันพุธ ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
เวลา 08.30-12.20 น.
บทความ เรื่องสอนลูกเรื่องหิน
การสอนลูกเรื่องหิน (Teaching Children about Rocks) หมายถึง การจัดกิจกรรม ให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับของแข็งที่เกิด ขึ้นเองตามธรรมชาติ จากการผสมของแร่ธาตุชนิด ต่างๆ หรือแร่ธาตุกับซากสัตว์ดึกดำบรรพ มีรูปร่าง ลักษณะ สีสัน แตก ต่างกันไปตามถิ่นที่อยู่
ทั้งนี้ หิน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่คนเรานำมาใช้ก่อสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็น
ทั้งนี้ หิน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่คนเรานำมาใช้ก่อสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็น
ปัจจัยหนึ่งในสี่ที่จำเป็นของชีวิตคนเรา และนำมาใช้เป็นเครื่องใช้อื่นๆอีกมากกมาย หินจึงเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก สถานศึกษาจึงจัดกิจกรรม
การเรียนรู้เรื่องหินให้เด็กปฐมวัยได้รับประสบการณ์ ไว้ในสาระที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ
รอบตัว ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 ให้เด็กได้รับประสบการณ์สำคัญที่
ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ให้เด็กได้มีโอกาสแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง ผ่านการสำรวจหินและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ สามารถนำมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งสถานศึก ษาและพ่อแม่ควรร่วมมือจัด
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องหินให้แก่เด็ก
ธรรมชาติรอบตัว เนื้อหาที่เด็กจะเรียนรู้ได้ว่า หินคืออะไร มีรูปร่างลักษณะอย่างไร
อยู่ที่ไหน มีชนิดใดบ้าง เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร เมื่อครูนำสาระมาพิจารณาจัดผสม
ผสานหรือบูรณาการแล้วสามารถจัดหลอมสาระการเรียนรู้อื่น ได้แก่ เรื่องสถานที่แวดล้อม
เด็ก เช่น สถานที่ใดบ้างนำหินมาใช้ก่อสร้าง เพื่อประโยชน์อะไร หรือสาระการเรียนรู้เกี่ยว
กับตัวเด็ก ได้แก่ เรารู้สึกอย่างไรเมื่อสัมผัสหิน(หนัก เบา ราบเรียบ ขรุขระ สีต่างๆ)เรา
เห็นรูปร่าง ลักษณะ เป็นอย่างไร (กลม แบน ใหญ่ เล็ก)หรือสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่ง
ต่างๆ ที่อยู่รอบตัว เช่น สิ่งต่างๆที่มนุษย์สร้างจากหิน ได้แก่บ้านที่อยู่อาศัย โต๊ะ ม้านั่งหิน
หินลับมีด สร้อยหิน ฯลฯ การนำสาระการเรียนรู้มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้จะคำนึงถึงหลักการสำคัญคือ การสนับสนุนให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการจับต้อง หิน ได้ลงมือกระทำกับหิน
ได้ทดลองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับหิน ได้เคลื่อนไหวตนเองไปสู่แหล่งเรียนรู้ หิน
เพื่อเด็กจะได้รับประสบการณ์ตรง เพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริงของตนเองได้ต่อ ไป
อยู่ที่ไหน มีชนิดใดบ้าง เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร เมื่อครูนำสาระมาพิจารณาจัดผสม
ผสานหรือบูรณาการแล้วสามารถจัดหลอมสาระการเรียนรู้อื่น ได้แก่ เรื่องสถานที่แวดล้อม
เด็ก เช่น สถานที่ใดบ้างนำหินมาใช้ก่อสร้าง เพื่อประโยชน์อะไร หรือสาระการเรียนรู้เกี่ยว
กับตัวเด็ก ได้แก่ เรารู้สึกอย่างไรเมื่อสัมผัสหิน(หนัก เบา ราบเรียบ ขรุขระ สีต่างๆ)เรา
เห็นรูปร่าง ลักษณะ เป็นอย่างไร (กลม แบน ใหญ่ เล็ก)หรือสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่ง
ต่างๆ ที่อยู่รอบตัว เช่น สิ่งต่างๆที่มนุษย์สร้างจากหิน ได้แก่บ้านที่อยู่อาศัย โต๊ะ ม้านั่งหิน
หินลับมีด สร้อยหิน ฯลฯ การนำสาระการเรียนรู้มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้จะคำนึงถึงหลักการสำคัญคือ การสนับสนุนให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการจับต้อง หิน ได้ลงมือกระทำกับหิน
ได้ทดลองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับหิน ได้เคลื่อนไหวตนเองไปสู่แหล่งเรียนรู้ หิน
เพื่อเด็กจะได้รับประสบการณ์ตรง เพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริงของตนเองได้ต่อ ไป
การจัดประสบการณ์หรือการสอนเรื่องหิน สามารถทำให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง
4 ด้านได้ดังนี้ คือ
1.ด้านร่างกาย เด็กได้มีโอกาสพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก คือ นิ้วมือ หยิบจับก้อนหิน
ได้ปีนป่ายบนก้อนหินก้อนใหญ่ ได้กระโดดข้ามก้อนหิน หรือ กระโดดไปมาบนหินก้อน
ใหญ่ กว้าง เรียบ เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทำงาน เพื่อสมองเด็กจะได้ รับรู้ข้อมูลจาก
การเคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อใช้หินเป็นอุปกรณ์ จะช่วยการพัฒนาการทางกายเด็กพัฒนา
ไปได้ดี
2.ด้านอารมณ์และจิตใจ เด็กจะมีความสุขที่ได้รับการตอบสนองความต้องการที่จะรู้
เห็นโดยการสำรวจ ทดลอง สิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวเขา คือก้อนหิน เด็กจะได้รับการอบรม
สั่งสอนที่จะวางตนในการศึกษาหาความรู้ ได้รับการฝึกการคิด การตัดสินใจรู้จักที่จะเลือก
วิธีการแสวงหาความรู้ตามความสามารถของตนเอง
3.ด้านสังคม เด็กควรได้รับการฝึกฝนให้ช่วยเหลือตนเอง ในการทำกิจกรรมเกี่ยวกับ
ก้อนหิน รู้จักทำงานกับเพื่อน (เล่น ทดลองหาคำตอบที่สงสัยเรื่องหิน หรือก้อนหิน)
การที่เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมกับผู้อื่น จึงเป็นโอกาสที่เด็กจะเรียนรู้เรื่องกฎ ระเบียบ
คุณค่าของผู้อื่น และของตนเอง
4.ด้านสติปัญญา การเรียนรู้เรื่องก้อนหิน จะต้องให้เด็กคิดหาคำตอบจากปัญหาที่ถาม
ตามความเหมาะสมตามวัย เด็กจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่เกิดจากการสืบค้นเรื่องก้อนหิน
จากการออกแบบสร้างสรรค์งานจากก้อนหิน จากการเล่นกับก้อนหิน และอื่นๆ
4 ด้านได้ดังนี้ คือ
1.ด้านร่างกาย เด็กได้มีโอกาสพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก คือ นิ้วมือ หยิบจับก้อนหิน
ได้ปีนป่ายบนก้อนหินก้อนใหญ่ ได้กระโดดข้ามก้อนหิน หรือ กระโดดไปมาบนหินก้อน
ใหญ่ กว้าง เรียบ เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทำงาน เพื่อสมองเด็กจะได้ รับรู้ข้อมูลจาก
การเคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อใช้หินเป็นอุปกรณ์ จะช่วยการพัฒนาการทางกายเด็กพัฒนา
ไปได้ดี
2.ด้านอารมณ์และจิตใจ เด็กจะมีความสุขที่ได้รับการตอบสนองความต้องการที่จะรู้
เห็นโดยการสำรวจ ทดลอง สิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวเขา คือก้อนหิน เด็กจะได้รับการอบรม
สั่งสอนที่จะวางตนในการศึกษาหาความรู้ ได้รับการฝึกการคิด การตัดสินใจรู้จักที่จะเลือก
วิธีการแสวงหาความรู้ตามความสามารถของตนเอง
3.ด้านสังคม เด็กควรได้รับการฝึกฝนให้ช่วยเหลือตนเอง ในการทำกิจกรรมเกี่ยวกับ
ก้อนหิน รู้จักทำงานกับเพื่อน (เล่น ทดลองหาคำตอบที่สงสัยเรื่องหิน หรือก้อนหิน)
การที่เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมกับผู้อื่น จึงเป็นโอกาสที่เด็กจะเรียนรู้เรื่องกฎ ระเบียบ
คุณค่าของผู้อื่น และของตนเอง
4.ด้านสติปัญญา การเรียนรู้เรื่องก้อนหิน จะต้องให้เด็กคิดหาคำตอบจากปัญหาที่ถาม
ตามความเหมาะสมตามวัย เด็กจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่เกิดจากการสืบค้นเรื่องก้อนหิน
จากการออกแบบสร้างสรรค์งานจากก้อนหิน จากการเล่นกับก้อนหิน และอื่นๆ
วิจัยเรื่อง พฤติกรรมความร่วมมือของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยในแต่ล่ะช่วงอายุได้ โดยผ่านการจัดประสบการณ์หรือจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมต่อพัฒนาการของเด็ก
ประเมินตนเอง
-แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอนและจดบันทึกลงสมุด
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์กำลังสอน และไม่คุยกันเสียงดัง
ประเมินอาจารย์
-อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย สุภาพ สามารถอธิบายหรือสอนให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น