วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557


ครั้งที่ 16
บันทึกอนุทิน
วันพุธ  ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2557
เวลา  08.30-12.20 น.

กิจกรรมในวันนี้...........

           อาจารย์ให้นักศึกษาที่ยังไม่ออกมานำเสนอโทรทัศน์ครูและวิจัย ให้ออกมาพูดวันนี้ให้หมดให้ครบทุกคน ส่วนดิฉันได้พูดเรื่องโทรทัศน์ครู


สรุปโทรทัศน์ครู เรื่องการใช้สื่อเรียนรู้จากธรรมชาติ

ของโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์ลำปาง





  เป็นการออกแบบการเรียนรู้สื่อที่มาจากก้อนหิน สีขาวกับสีแดง ครูสามารถทำได้โดยการให้เด็กนับจำนวนของก้อนหิน บอกรูปร่าง สีและขนาด เปรียบเทียบน้ำหนัก/เบา ของก้อนหินว่าอันไหนหนักกว่าและอันไหนเบากว่ากัน นอกจากนี้ยังสามารถเอามาผสมสีกัน แล้วแยกสีของก้อนหินหรือเอาสีมาปนกันก็ได้ ซึ่งจะมีวิธีการเรียนรู้ที่จะเล่นนั้นได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับกระบวนการคิดของเด็กที่จะเกิดขึ้น อาจจะเอามาเป็นของเล่นสร้างสรรค์ให้กับเด็กได้ เด็กเล่นอย่างสร้างสรรค์ การเล่นตามมุม เช่น มุมบล็อก มุมสร้างสรรค์ เป็นต้น  ครูมีวิธีการสอนโดยการให้เด็กได้มีส่วนร่วมและให้เด็กได้ลงมือกระทำหรือเล่นด้วยตนเอง เป็นการสอนที่เน้นความสำคัญและสิ่งรอบๆตัวเด็ก ครูจึงเลือกใช้สื่อที่สามารถหาได้ง่ายจากธรรมชาติหรือที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน

การนำไปประยุกต์ใช้
-เราสามารถนำก้อนหินมาเป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนภายในห้องหรือนอกห้องให้กับเด็กปฐมวัยได้ 

ประเมินตนเอง
-วันนี้ออกไปนำเสนอโทรทัศน์ครูได้เป็นอย่างดี และได้รับความรู้เพิ่มขึ้น 

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆตั้งใจฟัง เพื่อนคนอื่นๆออกไปนำเสนอวิจัยกับโทรทัศน์ครู 

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์บอกเทคนิคและวิธีการสอน ให้ได้อย่างเข้าใจ 

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 15
บันทึกอนุทิน
วันพุธ  ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
เวลา  08.30-12.20 น.


บทความ เรื่องสอนลูกเรื่องหิน

    การสอนลูกเรื่องหิน (Teaching Children about Rocks) หมายถึง การจัดกิจกรรม     ให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับของแข็งที่เกิด ขึ้นเองตามธรรมชาติ จากการผสมของแร่ธาตุชนิด   ต่างๆ หรือแร่ธาตุกับซากสัตว์ดึกดำบรรพ มีรูปร่าง ลักษณะ สีสัน แตก ต่างกันไปตามถิ่นที่อยู่ 
ทั้งนี้ หิน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่คนเรานำมาใช้ก่อสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็น
ปัจจัยหนึ่งในสี่ที่จำเป็นของชีวิตคนเรา และนำมาใช้เป็นเครื่องใช้อื่นๆอีกมากกมาย หินจึงเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก สถานศึกษาจึงจัดกิจกรรม
การเรียนรู้เรื่องหินให้เด็กปฐมวัยได้รับประสบการณ์ ไว้ในสาระที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ
รอบตัว ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 ให้เด็กได้รับประสบการณ์สำคัญที่
ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ให้เด็กได้มีโอกาสแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง ผ่านการสำรวจหินและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ สามารถนำมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งสถานศึก ษาและพ่อแม่ควรร่วมมือจัด
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องหินให้แก่เด็ก


       ธรรมชาติรอบตัว เนื้อหาที่เด็กจะเรียนรู้ได้ว่า หินคืออะไร มีรูปร่างลักษณะอย่างไร
อยู่ที่ไหน มีชนิดใดบ้าง เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร เมื่อครูนำสาระมาพิจารณาจัดผสม
ผสานหรือบูรณาการแล้วสามารถจัดหลอมสาระการเรียนรู้อื่น ได้แก่ เรื่องสถานที่แวดล้อม
เด็ก เช่น สถานที่ใดบ้างนำหินมาใช้ก่อสร้าง เพื่อประโยชน์อะไร หรือสาระการเรียนรู้เกี่ยว
กับตัวเด็ก ได้แก่ เรารู้สึกอย่างไรเมื่อสัมผัสหิน(หนัก เบา ราบเรียบ ขรุขระ สีต่างๆ)เรา
เห็นรูปร่าง ลักษณะ เป็นอย่างไร (กลม แบน ใหญ่ เล็ก)หรือสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่ง
ต่างๆ ที่อยู่รอบตัว เช่น สิ่งต่างๆที่มนุษย์สร้างจากหิน ได้แก่บ้านที่อยู่อาศัย โต๊ะ ม้านั่งหิน 
หินลับมีด สร้อยหิน ฯลฯ การนำสาระการเรียนรู้มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้จะคำนึงถึงหลักการสำคัญคือ การสนับสนุนให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการจับต้อง หิน ได้ลงมือกระทำกับหิน 
ได้ทดลองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับหิน ได้เคลื่อนไหวตนเองไปสู่แหล่งเรียนรู้ หิน 
เพื่อเด็กจะได้รับประสบการณ์ตรง เพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริงของตนเองได้ต่อ ไป
  การจัดประสบการณ์หรือการสอนเรื่องหิน สามารถทำให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง 
4 ด้านได้ดังนี้ คือ
    1.ด้านร่างกาย เด็กได้มีโอกาสพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก คือ นิ้วมือ หยิบจับก้อนหิน 
ได้ปีนป่ายบนก้อนหินก้อนใหญ่ ได้กระโดดข้ามก้อนหิน หรือ กระโดดไปมาบนหินก้อน
ใหญ่ กว้าง เรียบ เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทำงาน เพื่อสมองเด็กจะได้ รับรู้ข้อมูลจาก
การเคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อใช้หินเป็นอุปกรณ์ จะช่วยการพัฒนาการทางกายเด็กพัฒนา
ไปได้ดี
   2.ด้านอารมณ์และจิตใจ เด็กจะมีความสุขที่ได้รับการตอบสนองความต้องการที่จะรู้
เห็นโดยการสำรวจ ทดลอง สิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวเขา คือก้อนหิน เด็กจะได้รับการอบรม
สั่งสอนที่จะวางตนในการศึกษาหาความรู้ ได้รับการฝึกการคิด การตัดสินใจรู้จักที่จะเลือก
วิธีการแสวงหาความรู้ตามความสามารถของตนเอง
   3.ด้านสังคม เด็กควรได้รับการฝึกฝนให้ช่วยเหลือตนเอง ในการทำกิจกรรมเกี่ยวกับ
ก้อนหิน รู้จักทำงานกับเพื่อน (เล่น ทดลองหาคำตอบที่สงสัยเรื่องหิน หรือก้อนหิน)
การที่เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมกับผู้อื่น จึงเป็นโอกาสที่เด็กจะเรียนรู้เรื่องกฎ ระเบียบ 
คุณค่าของผู้อื่น และของตนเอง
   4.ด้านสติปัญญา การเรียนรู้เรื่องก้อนหิน จะต้องให้เด็กคิดหาคำตอบจากปัญหาที่ถาม 
ตามความเหมาะสมตามวัย เด็กจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่เกิดจากการสืบค้นเรื่องก้อนหิน 
จากการออกแบบสร้างสรรค์งานจากก้อนหิน จากการเล่นกับก้อนหิน และอื่นๆ

วิจัยเรื่อง พฤติกรรมความร่วมมือของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์


การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยในแต่ล่ะช่วงอายุได้ โดยผ่านการจัดประสบการณ์หรือจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมต่อพัฒนาการของเด็ก

ประเมินตนเอง
-แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอนและจดบันทึกลงสมุด

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์กำลังสอน และไม่คุยกันเสียงดัง

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย สุภาพ สามารถอธิบายหรือสอนให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น
ครั้งที่ 14
บันทึกอนุทิน
วันพุธ  ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
เวลา  08.30-12.20 น.


กิจกรรมในวันนี้............


วันนี้อาจารย์ได้พูดและอธิบายถึงเทคนิคการสอนที่สอดแทรกเข้าในเนื้อหาที่กำลังจะเรียน ดังต่อไปนี้
1.บล็อก
2.วิจัย หาชื่อเรื่อง เขาต้องการส่งเสริมอะไร?
3.โทรทัศน์ครู
   -ส่งเสริมหรือแก้ไขอะไร ด้วยวิธีใด?
   -วิธีนั้นมีขั้นตอนอย่างไร

1.เพื่อนนำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่องของเล่นและของใช้วิทยาศาสตร์

    ของเล่น คือ  ของที่มีไว้ใช้ในการเล่น เพื่อความสนุกสนาน และเพลิดเพลิน ของเล่นมีประโยชน์ ทำให้เกิดจินตนาการ ฝึกสมอง ฝึกความคิดสร้างสรรค์ ฝึกการใช้อวัยวะส่วนต่างๆ 
   ของใช้ คือ ของที่จำเป็นต้องใช้สอยในชีวิตประจำวัน  สามารถอำนวยความสะดวกได้  ใช้ทำงานต่างๆได้ 

2.นำเสนอแผนการสอนของกลุ่มเพื่อนที่เหลือ



หน่วยดิน


                                                         -สอนชนิดของดิน
                                                            1.ดินแดง
                                                            2.ดินสอพอง
                                                            3.ดินน้ำมัน
                                                            4.ดินเปรี้ยว
                                                            5.ดินโคลน
                                         -เอาดินมาทั้งหมดเท่าไหร่ ในเรื่องของคณิตศาสตร์
ขั้นนำ นำด้วยเพลง เพลงดิน แล้วใช้คำถามถามเด็กว่า "ดินในเพลงมีดินอะไรบ้าง"
                     เพลงดิน
           ดิน ดิน ดิน  ดินมีหลายชนิด
           ดินร่วน ดินเหนียว ดินทราย (ซ้ำ)
           เด็กๆลองทาย มีดินอะไร...
ขั้นสอน
1.ครูถามเด็กๆว่า นอกจากดินที่อยู่ในเพลงแล้ว เด็กๆรู้จักดินอะไรอีกบ้าง
2.บันทึกเป็น my map
3.ให้เด็กสัมผัสดิน แล้วให้เด็กนับจำนวนดินที่ครูเตรียมมาแล้วแทนค่าด้วยตัวเลขฮินดูอารบิค
4.ขอตัวแทนเด็กออกมาหยิบดินทีละ 1:1 จากนั้นให้เด็กสังเกตว่า
    -ดินที่เหลืออยู่แสดงว่ามีจำนวนที่มากกว่า
    -ดินที่หมดก่อนแสดงว่ามีจำนวนที่น้อยกว่า
ขั้นสรุป คุณครูและเด็กร่วมกันสรุปชนิดของดินและร้องเพลงดิน


                                                                หน่วยสับปะรด






การทำขนมอบ



วัสดุและอุปกรณ์ในการทำ


ส่วนประกอบ
1.ไข่
2.นม

ขั้นตอนในการทำ
1.เตรียมแป้งใส่ถ้วยไว้
2.เทนมใส่ลงไปแล้วตีให้เข้ากัน
3.เทไข่ที่เตรียมไว้ลงไป
4.เทน้ำเปล่าลงเล็กน้อยเพื่อไม่ให้ขนมแข็งเกินไปแต่ถ้ามากไปก็จะไม่สามารถทำขนมได้เพราะมันจะเหลวเกินไป
5.เทเนยที่เตรียมไว้ลงไป
6.ตีให้เข้ากันแล้วตักใส่ถ้วยเล็กที่เตรียมไว้ 
7.นำมาร์การีนมาทาที่เครื่องทำWaffleพอเครื่องร้อนก็เทแป้งลงไปรอประมาณ 3-4 นาที


การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้ เช่น ใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์โดยใช้ขนมอบและสอนให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ว่าขนมอบมีประโยชน์อย่างไรในคุณค่าของสารอาหารที่เรารับประทาน และมันมีรสชาติเป็นอย่างไร หวานไหม เค็มไหมหรือไม่มีรสชาติอะไรเลย เราก็จะต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการสอนให้กับเด็กต่อๆไป

ประเมินตนเอง
-แต่งกายเรียบร้อย ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆและตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์กำลังสอน

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆร่วมกันทำกิจกรรมและก็ต่างพากันตื่นเต้นที่อาจารย์ได้เตรียมของมาให้ทำขนมอบกัน เป็นกลุ่มๆ

ประเมินอาจารย์
-วันนี้อาจารย์ได้ให้ทำขนมอบและอธิบายถึงวิธีขั้นตอนในการทำให้กับนักศึกษาก่อนที่จะลงมือทำ 


ค้นคว้าหาเพิ่มเติม...

การสังเกต (Observation) คือ การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุ หรือเหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์ ที่จะหาข้อมูล ซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งของนั้นๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป
การจำแนก (Classifying) หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์ หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่ง ขึ้น
การลงความเห็นจากข้อมูล (Interring) หมายถึง การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย และจะไม่บอกเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งข้อมูลนี้อาจได้จากการสังเกต การวัด หรือการทดลอง
Speace หรือ มิติ ของวัตถุใดๆ  หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นคงที่ ซึ่งจะมีรูปร่างเหมือนวัตถุนั้น เช่น space ของแผ่นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก็คือ เนื้อที่ซึ่งกระดาษแผ่นที่ทับอยู่ space อาจมี 2 มิติ คือ กว้างและยาว หรืออาจมี 3 มิติ คือ กว้าง ยาว และสูง ก็ได้
การสื่อความหมาย (Comunication) หมายถึง ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจนตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก การพูด การเขียน การใช้รูปภาพ การแสดงสีหน้า และภาษาท่าทาง ก็จัดว่าเป็นการสื่อความหมายด้วย
การวัด (Measurement) หมายถึง การใช้เครื่องมือต่างๆ วัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยการวัดกำกับอยู่เสมอ
การคำนวณ คือ ความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุการหาปริมาณต่างๆ การบวก ลบ คูณ หาร ทักษะการคำนวณที่มีควรส่งเสริมให้แก่เด็กปฐมวัยได้แก่ การนับจำนวนของวัตถุ การนำจำนวนตัวเลขมากำหนด หรือบอกลักษณะต่างๆ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก ดังนั้น คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งสำหรับวิทยาศาสตร์ เพราะในการทดลอง หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ นั้นต้องใช้ตัวเลขในการคำนวณ

วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 13 
บันทึกอนุทิน
วันอังคาร  ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
เวลา  08.30-12.20 น.

...กิจกรรมในวันนี้...

นำเสนอการทดลอง "วิทยาศาสตร์"

กลุ่ม 1 เรื่องสับปะรด
 -ประโยชน์




กลุ่ม 2 เรื่องส้ม

       -ชนิดของส้ม
           1.ส้มเขียวหวาน
    2.ส้มโชกุน
 3.ส้มเช้ง
4.ส้มจีน
           5.ส้มสายน้ำผึ้ง
            6.ส้มแมนดาริน
        7.ส้มส้มป่อย
 8.ส้มโอ
      "เพลงส้ม"
        ส้ม ส้ม ส้ม               หนูรู้จักส้มหรือเปล่า
    ส้มมีหลากหลายไม่เบา       ทั้งส้มเขียวหวาน ส้มจี๊ด
      อีกทั้งส้มเช้ง โชกุน       หนูๆ ลองทานดูเอย...

   เด็กได้อะไร?
      -เด็กบอกชื่อส้มได้
                -เด็กนับและบอกจำนวนส้มได้
      -เด็กจับกลุ่มชนิดของส้มได้
            -เปรียบเทียบจำนวนน้อยกว่ามากกว่า




กลุ่ม 3 เรื่องทุเรียน

-ชนิดของทุเรียน
        1.หมอนทอง
 2.ชะนี
*บอกลักษณะ สี รูปทรง ขนาด พื้นผิว รสชาด กลิ่น และส่วนประกอบ




กลุ่ม 4 เรื่องมด

           -บอกลักษณะ
  1.สี
         2.ขนาด
       3.กลิ่น
                   4.ส่วนประกอบ
                                                                    "เพลงมด"
                                                มด มด มด                   หนูเคยเห็นมดหรือเปล่า
                                             มดมันตัวเล็กและเบา        มีขายาวๆเดินหากัน
                                             มีบ้านใต้ดิน เรียกว่ารัง      หนูๆจงฟังไว้เอย...
                   มดดำ- มีสีดำ ขนาดเล็ก มีกลิ่นฉุน มีหัว มีขา6ขา มีหนวด มีท้อง มีอก และตา
                                           มดแดง- มีสีแดง ขนาดใหญ่ มีกลิ่นเปรี้ยว








...กิจกรรมต่อไป...
  

อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มโต๊ะล่ะ 5 คน "การทำไข่หลุม"




กลุ่มที่ 1 ตัดกระดาษรองถ้วย



กลุ่มที่ 2 หั่นผัก แครอท ต้นหอม ปูอัด






กลุ่มที่ 3 ตอกไข่ทีละ 5 ฟอง




กลุ่มที่ 4 ใส่เครื่องปรุงและส่วนผสม



กลุ่มที่ 5 ดูแลและคอยพลิกไข่



    วัสดุ/อุปกรณ์และเครื่องปรุงในการทำ
             1.ไข่ไก่
             2.แครอท ต้นหอม ปูอัด ข้าวสุก
             3.น้ำปลา ซอลแม็กกี้
             4.เนย
             5.ช้อน ซ้อม ถ้วย
             6.มีด เขียง กรรไกร กระทะหลุม
             7.กระดาษ

     วิธีการทำ
             1.หั่นผัก ตัดกระดาษรองถ้วยให้เรียบร้อย
             2.ตอกไข่ใส่ถ้วย แล้วตีไข่ให้แตกออกจากกัน
             3.เอาข้าว แครอท ปูอัด ต้นหอมที่หั่นไว้แล้ว ใส่คลุกเข้าด้วยกัน
             4.ทาเนยใส่กระทะ เพื่อที่จะไม่ให้เวลาที่เราเทไข่ลงไป แล้วจะทำให้ไข่ไม่ติดกระทะ
             5.พลิกไข่ไปมาจนสุก


การนำไปประยุกต์ใช้
-เราสามารถนำแผนการสอนไปจัดเป็นกิจกรรมหรือประสบการณ์ให้กับเด็กได้  อย่างเช่นกิจกรรมที่เราได้ทำในวันนี้คือการทำไข่หลุมเพื่อให้เด็กได้ลงปฏิบัติหรือเรียนรู้ด้วยตนเอง และทำเป็นตามลำดับขั้นตอนอย่างถูกวิธี 

ประเมินตนเอง
-ได้ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนในห้อง และรู้ถึงการเขียนแผนที่ถูกต้องพร้อมทั้งการทำไข่หลุมที่แสนอร่อย

ประเมินเพื่อน
-วันนี้เพื่อนๆดูตื่นเต้น เพราะได้ร่วมกันทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับไข่และการได้ลงมือทำด้วยตนเอง ว่ามีรสชาติเป็นอย่างไร

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมและบอกถึงประโยชน์ของการเขียนแผนการสอน ว่ามีสาระที่เราควรปรับปรุงแก้ไขและต้องเรียนรู้ในรูปแบบใด เพื่อให้เราได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

ครั้งที่ 12
บันทึกอนุทิน
วันอังคาร  ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2557
เวลา  08.30-12.20 น.

...กิจกรรมในวันนี้...

     อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเขียนแผนการสอน พร้อมทั้งเอาแผนที่อาจารย์เตรียมมาให้นักศึกษาดูเป็นตัวอย่าง และบอกวิธีการเขียนว่าเราควรต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไรให้ถูกต้อง สมบูรณ์

วิธีการเรียงแผนการสอนที่ถูกต้อง มีดังนี้
1.กรอบมาตรฐาน
2.สาระที่ควรเรียนรู้
3.แนวคิด
4.เนื้อหา
5.ประสบการณ์สำคัญ
6.บูรณาการ
7.กิจกรรมหลัก
8.วัตถุประสงค์

การนำเสนอแผนการสอนของกลุ่มเพื่อน


หน่วยข้าว




หน่วยไข่




หน่วยกล้วย

การนำไปประยุกต์ใช้
-เราสามารถนำไปสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้ โดยการให้เด็กได้ทดลองทำหรือปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์

การประเมินตนเอง
-แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังที่เพื่อนออกไปนำเสนอสื่อหน้าห้องเรียน และก็จดบันทึกเพื่อนำไปเป็นความรู้และทบทวนในบทเรียนเพิ่มเติม

การประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆแต่ล่ะกลุ่มต่างออกมานำเสนอแผนการสอนของตัวเองที่เขียนมาได้เป็นอย่างดี พร้อมกับทำกิจกรรมหน้าห้องให้เพื่อนๆดู มีการทดลองและวิธีการสอนที่แตกต่างกันออกไป

การประเมินอาจารย์
-อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย สุภาพ บอกเทคนิคและวิธีการเขียนแผนที่ถูกต้อง พร้อมทั้งยังสอดแทรกในเรื่องของกิจกรรมที่นำมาสอนในห้องให้กับนักศึกษา