วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 9
บันทึกอนุทิน
วันอังคาร  ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2557
เวลา  08.30-12.20 น.

กิจกรรมในวันนี้.....

       อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอของเล่นวิทยาศาตร์ ของแต่ล่ะคนที่ได้ทำมาคนล่ะ 1 ชิ้น ที่ได้สั่งให้ไปทำเป็นการบ้านมา และของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ดิฉันได้เตรียมมานำเสนอ คือ เสียงแตร ปู๊นๆ

วัสดุ
1.ขวดน้ำ
2.แก้วพลาสติก
3.ถ้วยโยเกิร์ต
4.ลูกโป่ง

อุปกรณ์
1.กรรไกร
2.คัตเตอร์
3.เทปกาวห่อพัสดุ

วิธีการทำ
1.ตัดก้นของขวดแก้วน้ำออก
2.ตัดถ้วยโยเกิร์ตออกออกครึ่งนึง จากนั้นนำเอาถ้วยโยเกิร์ตที่ตัดไว้มาครอบใส่กับขวดน้ำ และก็เอาเทปกาวมาพันติดกันให้รอบ ติดให้แน่นๆ
3.เจาะก้นแก้วพลาสติกออกให้โล่ง แล้วเอามาสวมใส่กับขวดที่ตัดไว้อยู่แล้ว จากนั้นก็เอาเทปกาวมาพันติดรอบ ติดให้แน่นๆเช่นเดียวกัน
4.ตัดลูกโปร่งออกครึ่งนึง แล้วจากนั้นก็เอาลูกโปร่งที่ตัดมาครอบใส่ปากถ้วยโยเกิร์ตดึงให้ตึง
5.สุดท้ายเจาะรูตรงใกล้ๆกับปากถ้วยโยเกิร์ต โดยเจาะให้เป็นรูเล็กๆ จะเจาะให้เป็นสี่เหลี่ยมหรือวงกลมก็ได้ พอเราเป่ามันก็จะทำให้เกิดเสียงดังออกมา

วิธีการเล่น คือ ให้เราใช้ปากเป่าไปตรงที่มีรูของแตร และมันก็จะทำให้เกิดเสียงออกมา ขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะเป่าแรงหรือเป่าเบา เสียงมันก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ



...เสียงแตร ปู๊นๆ....





ผลงานของเพื่อน







หลักวิทยาศาสตร์ "ความดันของเสียง" (เสียงแตร ปู๊นๆ)

         เสียงเป็นคลื่นความดัน (Pressure Wave) จะต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่
 ดังนั้นจึงสามารถเคลื่อนที่ผ่านอากาศ ของแข็งหรือของเหลว แต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านสูญญากาศได้
        คลื่นเสียงเป็นคลื่นตามยาวเกิดจากการสั่นของวัตถุ ความถี่ของเสียงจะมีค่าเท่ากับความถี่ของแหล่ง
กำเนิด และในขณะที่มี การสั่น โมเลกุลของตัวกลางจะมีการถ่ายทอดพลังงานทำให้เกิดความดันอากาศ
ที่เปลี่ยนแปลงไปตามตำแหน่ง ทำให้เกิดเป็นช่วงอัด และ ช่วงขยายโดยที่ช่วงอัดคือบริเวณที่อนุภาค
ของตัวกลางอัดเข้าหากัน บริเวณนี้มีจะมีความดันสูงสุดโดยเทียบกับความดันที่ตำแหน่ง สมดุลของ
อนุภาค โดยการขจัดของอนุภาคน้อยที่สุด ส่วนช่วงขยายคือบริเวณที่อนุภาคตัวกลางแยกห่างจากกัน
บริเวณนี้มีความดัน ต่ำสุดโดยเทียบกับความดันที่ตำแหน่งสมดุลของอนุภาค การขจัดของอนุภาคมากที่สุด

การนำไปประยุกต์ใช้
-เราสามารถนำไปใช้กับการเรียนการสอนได้อย่างดี และนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย 

โดยเฉพาะของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เพราะว่าเด็กจะได้คิดและสังเกต ทดลอง ด้วยตนเอง
 จึงทำให้เกิดการเรียนรู้รวมถึงประสบการณ์ที่มีอยู่แล้ว

การประเมินตนเอง
-แต่งกายถูกระเบียบ เรียบร้อย มีความตั้งใจที่จะนำเสนอผลงานของตน ถึงแม้จะทำได้ไม่ค่อยดี

สักเท่าไหร่ แต่ก็จะปรับปรุงและแก้ไขในเรื่องของการพูด การคิดให้มากเพิ่มขึ้นค่ะ

การประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆมีความสนใจกับสื่อหรือของเล่นที่ดิฉันเตรียมมาค่ะ เพราะมันมีเสียงที่ดัง และทุกๆคนก็

ตั้งใจฟังเพื่อนคนอื่นๆ ที่เขาออกไปนำเสนอเป็นอย่างดี

การประเมินอาจารย์
-อาจารย์ได้ให้ความรู้ และอธิบายเพิ่มเติมถึงสื่อที่เตรียมมาว่า ต้องแก้ไข และนำไปปรับปรุง 

ให้ดีขึ้นอย่างไรบ้าง 

ค้นคว้าเพิ่มเติม
-

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น