วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 11
บันทึกอนุทิน
วันอังคาร  ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2557
เวลา  08.30-12.20 น.




....วันนี้ไม่ได้มาเรียนค่ะ....







ครั้งที่ 10
บันทึกอนุทิน
วันอังคาร  ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2557
เวลา  08.30-12.20 น.


ทักษะทางวิทยาศาสตร์
      วิทยาศาสตร์ประกอบด้วย ความรู้ (Science Knowledge) และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้ในการศึกษาหาความรู้
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึงพฤติกรรมที่เกิดจากการคิดและการปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์จนเกิดความชำนาญและความคล่องแคล่วในการใช้ เพื่อแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนหาวิธีการเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ทางธรรมชาติที่ได้จากการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าศึกษาค้นคว้า เป็นความรู้ที่ผ่าการตรวจสอบ หรือยืนยันว่าเป็นความจริง (Tested Knowledge) ตามเงื่อนไขนี้

กิจกรรมในวันนี้............

อาจารย์ให้เพื่อนที่ยังไม่นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ของอาทิตย์ก่อน ให้เอาออกมานำเสนอในวันนี้

ผลงานของเพื่อนที่นำมาเสนอ
...แตรจากแผ่นใส...


...ว่าวกระดาษ...



แผนการสอน (ที่ได้แก้ไขแล้ว) เรื่อง "น้ำ"


อาจารย์ให้เขียนแผนกลุ่มล่ะ 1 แผน โดยแตกออกเป็น ประเภทของน้ำ แหล่งที่อยู่ของน้ำ คุณสมบัติของน้ำ วัฏจักรของน้ำ และประโยชน์ของน้ำ
ประโยช์ของน้ำ
      ช่วยให้สุขภาพผิวดูมีน้ำมีนวล เปล่งปลั่งสดใสน้ำช่วยป้องกันการเกิดริ้วรอยได้ เพราะช่วยป้องกันไม่ให้ผิวของเราแห้งกร้านช่วยให้ดวงตาของคุณดูสดใส มีชีวิตชีวาช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกายช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ปรับสมดุลในร่างกายช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย สบายใจน้ำช่วยให้สมองทำงานได้ไว และดียิ่งขึ้นช่วยทำให้เกิดสมาธิมากขึ้น 

การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำแผนการสอนไปใช้และปฏิบัติกับเด็กได้จริง โดยผ่านกระบวนการจัดให้เป็นในรูปแบบของกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ มีพื้นฐานทางการเรียนรู้ที่ดีขึ้น ทั้งยังนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

ประเมินตนเอง
-แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังที่เพื่อนออกไปนำเสนอสื่อหน้าห้องเรียน และก็จดบันทึกเพื่อนำไปเป็นความรู้และทบทวนในบทเรียนเพิ่มเติม

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิดตอบคำถาม ในสิ่งที่อาจารย์ถามมา รวมถึงตั้งใจฟังเพื่อนคนอื่นๆที่ออกไปนำเสนอ

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์แต่งกายสุภาพ อธิบายและได้ชี้แนะในเรื่องของสื่อวิทยาศาสตร์ โดยการใช้คำถามว่า ทำไม?เพราะอะไร? เวลาเล่นของเล่นวิทยาศาสตร์นี้ มันสามารถใช้ได้จริงรึเปล่า มีความคงทนไหม เด็กสามารถเล่นได้กี่คน

ค้นคว้าหาเพิ่มเติม
-
ครั้งที่ 9
บันทึกอนุทิน
วันอังคาร  ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2557
เวลา  08.30-12.20 น.

กิจกรรมในวันนี้.....

       อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอของเล่นวิทยาศาตร์ ของแต่ล่ะคนที่ได้ทำมาคนล่ะ 1 ชิ้น ที่ได้สั่งให้ไปทำเป็นการบ้านมา และของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ดิฉันได้เตรียมมานำเสนอ คือ เสียงแตร ปู๊นๆ

วัสดุ
1.ขวดน้ำ
2.แก้วพลาสติก
3.ถ้วยโยเกิร์ต
4.ลูกโป่ง

อุปกรณ์
1.กรรไกร
2.คัตเตอร์
3.เทปกาวห่อพัสดุ

วิธีการทำ
1.ตัดก้นของขวดแก้วน้ำออก
2.ตัดถ้วยโยเกิร์ตออกออกครึ่งนึง จากนั้นนำเอาถ้วยโยเกิร์ตที่ตัดไว้มาครอบใส่กับขวดน้ำ และก็เอาเทปกาวมาพันติดกันให้รอบ ติดให้แน่นๆ
3.เจาะก้นแก้วพลาสติกออกให้โล่ง แล้วเอามาสวมใส่กับขวดที่ตัดไว้อยู่แล้ว จากนั้นก็เอาเทปกาวมาพันติดรอบ ติดให้แน่นๆเช่นเดียวกัน
4.ตัดลูกโปร่งออกครึ่งนึง แล้วจากนั้นก็เอาลูกโปร่งที่ตัดมาครอบใส่ปากถ้วยโยเกิร์ตดึงให้ตึง
5.สุดท้ายเจาะรูตรงใกล้ๆกับปากถ้วยโยเกิร์ต โดยเจาะให้เป็นรูเล็กๆ จะเจาะให้เป็นสี่เหลี่ยมหรือวงกลมก็ได้ พอเราเป่ามันก็จะทำให้เกิดเสียงดังออกมา

วิธีการเล่น คือ ให้เราใช้ปากเป่าไปตรงที่มีรูของแตร และมันก็จะทำให้เกิดเสียงออกมา ขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะเป่าแรงหรือเป่าเบา เสียงมันก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ



...เสียงแตร ปู๊นๆ....





ผลงานของเพื่อน







หลักวิทยาศาสตร์ "ความดันของเสียง" (เสียงแตร ปู๊นๆ)

         เสียงเป็นคลื่นความดัน (Pressure Wave) จะต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่
 ดังนั้นจึงสามารถเคลื่อนที่ผ่านอากาศ ของแข็งหรือของเหลว แต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านสูญญากาศได้
        คลื่นเสียงเป็นคลื่นตามยาวเกิดจากการสั่นของวัตถุ ความถี่ของเสียงจะมีค่าเท่ากับความถี่ของแหล่ง
กำเนิด และในขณะที่มี การสั่น โมเลกุลของตัวกลางจะมีการถ่ายทอดพลังงานทำให้เกิดความดันอากาศ
ที่เปลี่ยนแปลงไปตามตำแหน่ง ทำให้เกิดเป็นช่วงอัด และ ช่วงขยายโดยที่ช่วงอัดคือบริเวณที่อนุภาค
ของตัวกลางอัดเข้าหากัน บริเวณนี้มีจะมีความดันสูงสุดโดยเทียบกับความดันที่ตำแหน่ง สมดุลของ
อนุภาค โดยการขจัดของอนุภาคน้อยที่สุด ส่วนช่วงขยายคือบริเวณที่อนุภาคตัวกลางแยกห่างจากกัน
บริเวณนี้มีความดัน ต่ำสุดโดยเทียบกับความดันที่ตำแหน่งสมดุลของอนุภาค การขจัดของอนุภาคมากที่สุด

การนำไปประยุกต์ใช้
-เราสามารถนำไปใช้กับการเรียนการสอนได้อย่างดี และนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย 

โดยเฉพาะของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เพราะว่าเด็กจะได้คิดและสังเกต ทดลอง ด้วยตนเอง
 จึงทำให้เกิดการเรียนรู้รวมถึงประสบการณ์ที่มีอยู่แล้ว

การประเมินตนเอง
-แต่งกายถูกระเบียบ เรียบร้อย มีความตั้งใจที่จะนำเสนอผลงานของตน ถึงแม้จะทำได้ไม่ค่อยดี

สักเท่าไหร่ แต่ก็จะปรับปรุงและแก้ไขในเรื่องของการพูด การคิดให้มากเพิ่มขึ้นค่ะ

การประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆมีความสนใจกับสื่อหรือของเล่นที่ดิฉันเตรียมมาค่ะ เพราะมันมีเสียงที่ดัง และทุกๆคนก็

ตั้งใจฟังเพื่อนคนอื่นๆ ที่เขาออกไปนำเสนอเป็นอย่างดี

การประเมินอาจารย์
-อาจารย์ได้ให้ความรู้ และอธิบายเพิ่มเติมถึงสื่อที่เตรียมมาว่า ต้องแก้ไข และนำไปปรับปรุง 

ให้ดีขึ้นอย่างไรบ้าง 

ค้นคว้าเพิ่มเติม
-
ครั้งที่ 8
บันทึกอนุทิน
วันอังคาร  ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2557
เวลา  08.30-12.20 น.



อยู่ในการสอบกลางภาค 
ระหว่างวันที่ 6-12 ตุลาคม พ.ศ.2557  จึงไม่มีการเรียนการสอน










ครั้งที่ 7
บันทึกอนุทิน
วันอังคาร  ที่ 30 กันยายน พ.ศ.2557
เวลา  08.30-12.20 น.



....วันนี้ไม่ได้มาเรียนค่ะ เพราะไม่สบาย....



ครั้งที่ 6
บันทึกอนุทิน
วันอังคาร  ที่ 23 กันยายน พ.ศ.2557
เวลา  08.30-12.20 น.

เนื้อหาที่เรียนในวันนี้...................... 

วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
พัฒนาการ
 การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) เป็นการเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัดกระทำกับวัตถุ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิด และเหตุการณ์ จนกระทั่งสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Hohmann and Weikart, 1995) การเรียนรู้แบบลงมือกระทำเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเด็ก และจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ 

กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัย
      1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ (activity) เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ 
      2.กิจกรรมศิลปะ (Art Activites)  เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่างๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ล่ะคนได้แสดงออกตามความรู้สึก และความสามารถของตนเอง
      3.กิจกรรมเสรี (Free Activites) เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระ ในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภท สนองความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
      4.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (Experience) เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่างๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักภามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตรามกระบวนการเรียนรู้
     5.กิจกรรมกลางแจ้ง (Outdoors) เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งบริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก
     6.กิจกรรมเกมการศึกษา (Educational Activites) เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตารมชนิดของเกมแต่ล่ะประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน

กิจกรรมในวันนี้
อุปกรณ์ (Equipment)
1. กระดาษ (Papey)
2. ไม้ลูกชิ้น 1 อัน
3.กรรไกร (Scissore)
4.เทปกาว (Glue tape)
5.สี (Coloy)

วิธีการทำ
1.ตัดกระดาษที่อาจารย์แจกให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2.วาดรูปที่สัมพันธ์กันทั้งสองข้าง
3.ระบายสีให้สวยงาม
4.จากนั้นนำเศษกระดาษที่เหลือจากการตัดมาพับมาประกบเข้าหากัน และนำไม้ลูกชิ้นมาติดไว้ตรงกลางของกระดาษด้านใดด้านหนึ่ง
5.นำกระดาษที่ติดไม้เสร็จแล้วมาพับเข้าหากัน และก็ทากาวให้เรียบร้อย

*เป็นสื่อการสอนที่เด็กก็สามารถทำเองได้ โดยเกิดจากการเรียนรู้



...กิจกรรมภายในห้องเรียน...



บทความวันนี้
1.สอนลูกเรื่องพืช 
   การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับพืชนิดต่างๆนั้น พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ง่ายๆจากกิจวัตรประจำวัน เช่น การให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการประกอบอาหารประเภทผัก การหัดให้เด็กเพาะปลูกพืชง่ายๆที่บ้าน ให้เด็กไปช่วยเลือกซื้อพันธุ์พืชที่เป็นไม้ดอก ไม้ประดับ จากแหล่งจำหน่ายพันธุ์ไม้ และพาลูกไปเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวที่มีพันธุ์พืชหรือต้นไม้ ส่งผลต่อการเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านร่างกายโดยรวมของเด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับพืชชนิดต่างๆ รวมถึงการปลูกฝังลักษณะนิสัยในการร่วมกันอนุรักษ์พันธุ์พืชและป่าไม้ให้กับเด็ก เพื่อให้เกิดความตระหนักในเรื่องการร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย

2.เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทาน
   นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำ ๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้

3.แนวทางสอนคิด เติมวิทย์ ให้เด็กอนุบาล
    วิทยาศาสตร์คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ

4.การทดลองสนุกๆสำหรับคุณหนูๆ
   การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะช่วยส่งเสริมด้านความคิดของพวกเขา และกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัว เด็กสามารถเรียนรู้ในการแก้ปัญหา ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการวาดที่มาพร้อมกับทักษะการคำนวณ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ยังสามารถช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเขาซึ่งเกิดจากความซับซ้อนของธรรมชาติและจักรวาล 

   นำเสนองานกลุ่ม Mind map แล้วก็ให้นำมาแปะไว้ให้เพื่อนๆดู โดยที่อาจารย์จะธิบา่ยว่าทำมาถูกต้องรึเปล่า พร้อมกับบอกแนวทางในการแก้ไขให้เรียบร้อย และกลุ่มของดิฉันทำเรื่อง "น้ำ"


Mind map


ประโยช์ของน้ำ
      ช่วยให้สุขภาพผิวดูมีน้ำมีนวล เปล่งปลั่งสดใสน้ำช่วยป้องกันการเกิดริ้วรอยได้ เพราะช่วยป้องกันไม่ให้ผิวของเราแห้งกร้านช่วยให้ดวงตาของคุณดูสดใส มีชีวิตชีวาช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกายช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ปรับสมดุลในร่างกายช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย สบายใจน้ำช่วยให้สมองทำงานได้ไว และดียิ่งขึ้นช่วยทำให้เกิดสมาธิมากขึ้น ผู้ที่อยู่ในวัยเรียนควรให้ความสำคัญช่วยลดการเกิดกลิ่นปากช่วยชะลอความแก่ ทำให้เซลล์ต่างๆในร่างกายไม่ขาดน้ำ และทำงานได้อย่างเป็นปกติช่วยลดอาการเครียด สำหรับผู้ที่อยู่ในวัยทำงานจึงเป็นสิ่งจำเป็น อย่าเครียดจนลืมดื่มน้ำ!น้ำช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายของเราได้ ช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้คงที่น้ำสามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับผิวหนังของคุณได้ แถมยังป้องกันเชื้อโรคต่างๆที่จะเข้าสู่ร่างกายได้อีกด้วย

การนำไปประยุกต์ใช้
-เราสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอด ไปสู่ในระดับสูงๆได้ และนำไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้

ประเมินตนเอง
-แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ฟังและจดตามที่อาจารย์สอน มีความกระตือรือร้นกับการเรียนเป็นอย่างยิ่งค่ะ

ประเมินเพื่อน
-วันนี้เพื่อนแต่งกายกันเรียบร้อย ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย และช่วยกันระดมความคิดการตอบคำถาม 

ประเมินอาจารย์
 -อาจารย์แต่งกายสุภาพ เรียบร้อย สามารถสอนได้อย่างเข้าใจ มีการให้นักศึกษาทำกิจกรรมภายในห้องเรียน คือได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง เพื่อให้เรามีความคิดสร้างสรรค์และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น

ค้นคว้าเพิ่มเติม

“เฟรอเบล”  บิดาการศึกษาปฐมวัย

        เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล ผู้นำการศึกษาอนุบาลที่ได้รับขนานนามว่าเป็น “บิดาการศึกษาปฐมวัย” ด้วยการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกขึ้นในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1837 เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีรูปแบบ กำหนดให้มีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสำหรับการศึกษาปฐมวัย มีการฝึกหัดครู รวมถึงการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยด้วยการผลิตอุปกรณ์การสอน ที่เรียกว่า ชุดอุปกรณ์ และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียกว่า การงานอาชีพ
เฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียนโดยเฉพาะประสบการณ์ที่ได้มาจากการเล่น ด้วยเหตุผลนี้เฟรอเบลจึงใช้พื้นฐานความพร้อมของเด็กในการเรียน พัฒนาการตามช่วงอายุ ธรรมชาติของเด็กและเหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่เฟรอเบลมีความสนใจมาจัดทำเป็นชุดของเล่นและกิจกรรมสำหรับเด็กที่สอดคล้องกับวัยของเด็กโดยเรียกชื่อว่า ชุดอุปกรณ์ (Gifts) และการงานอาชีพ (Occupations)