บันทึกอนุทิน
วันอังคาร ที่ 9 กันยายน พ.ศ.2557
เวลา 08.00-12.20 น.
บทความ
1.ของเล่นวิทยาศาสตร์
2.ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์
2.1 อ่านหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์ หนังสือเรียนอาจดูน่าเบื่อสำหรับเด็ก ๆ แต่อย่ากังวลไปค่ะ เพราะในปัจจุบันมีหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากมาย ที่เขียนให้ไม่น่าเบื่อ น่าติดตาม มีภาพประกอบสวยงาม แต่ละเรื่องสอดแทรกการทดลองที่น่าสนใจไว้ บางเล่มก็เป็นการ์ตูนภาพน่ารัก ๆ บางเล่มก็เป็นนิยายผจญภัย ยกตัวอย่างเช่น หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนในชุดความรู้ จะมีเล่มที่มีการ์ตูนพร้อมอธิบายเรื่องจักรวาลไว้ด้วย หนังสือการ์ตูน เอาชีวิตจากโลกร้อน ที่ช่วยสอนเด็ก ๆ ให้ช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น หรือจะเป็นหนังสือหลักคณิตคิดเร็ว หรือหนังสือสารานุกรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชนด้วย
2.2 ทำการทดลองอย่างง่าย ๆหากยังไม่ทราบจะทำการทดลองแบบใด หรือ ทำการทดลองแนวไหน ลองหาหนังสือการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมาเป็นแนวทางก็ได้ค่ะ ที่เราขอแนะนำ เช่น กล่องกิจกรรมทดลองชุดเจาะลึกเทคโนโลยีด้วยวิทยาศาสตร์ ที่ให้เด็ก ๆ ได้สนุกสนานไปกับการทดลองสารเรืองแสง หรือหนังสือชื่อ “ทำอย่างไรให้วัวกินหญ้าเป็นรูปครึ่งวงกลม” และ “เราก้าวทะลุโปสการ์ดได้อย่างไร” ที่ช่วยแนะนำการทดลองแบบง่าย ๆ ทำได้ที่บ้าน อย่าง การเรียนรู้เรื่องทรงเรขาคณิตจากการพับกระดาษ การพับปิระมิด การพับวงกลมสองวงให้กลายเป็นสี่เหลี่ยม หรือการสอนเด็ก ๆ เรื่องการคาดคะเนผ่านการทดลองตัดพิซซ่า และโดนัท
3. พาเข้าพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แบบ interactive ในประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แบบ interactive (พิพิธภัณฑ์เชิงปฏิสัมพันธ์) หรือพิพิธภัณฑ์ที่ให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหรือทดลอง เข้าร่วมในกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์ด้วยด้วยได้ คือ จตุรัสวิทยาศาสตร์ เป็นสวนสนุกวิทยาศาสตร์หรือแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์รู้ที่เน้นส่งเสริมความรู้คู่ความบันเทิงให้กับเด็ก ๆ ตั้งอยู่ ณ ชั้น 4 และชั้น 5 อาคารจามจุรีสแควร์ ที่นี่เน้นการจัดนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์ มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่ออกแบบมาให้เข้ากับธรรมชาติของเด็ก โดยเฉพาะชิ้นงานวิทยาศาสตร์แบบ Interactive ที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เข้าชม โดยเฉพาะเด็ก ๆ ให้สามารถทดลอง สัมผัส เรียนรู้ด้วยตัวเองด้วย นอกจากนี้ยังมีสนามเด็กเล่น Kid Play Ground ที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กวัย 3-8 ปี ด้วยการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์และช่วยปลูกฝังความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ให้กับเด็กด้วย
3.วิทย์-คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบเล่น และสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งต่างๆ รอบตัว การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
4.เมื่อลูกน้อยเรียนรู้วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ผ่านเสียงดนตรี
เมื่อลูกน้อยเรียนรู้คณิตวิทย์จากเสียงดนตรี บูรณาการกิจกรรมเพื่อสร้างนักวิทยาศาสตร์น้อยเมื่อส่งลูกเข้าเรียนอนุบาล พ่อ-แม่ คาดหวังอะไร ?.พ่อ-แม่หลายคนอาจต้องถามตัวเองใหม่ ปัจจุบันการเรียนรู้ระดับปฐมวัยสิ่งที่สำคัญคือ การสร้าง “เจตคติที่ดี” ในการเรียนรู้ของเด็กโดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ
5.การจัดการเรียนรู้วืทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ใน ระดับปฐมวัย จึงได้จัดทำแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย 2546 ขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูปฐมวัยมีแนวทางที่ชัดเจนในการจัดประสบการณ์การ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ช่วยพัฒนาคุณลักษณะตามวัยของเด็กปฐมวัย ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาตลอดจนพัฒนากระบวนการคิด กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ จิตวิทยาศาสตร์และแนวคิดเกี่ยวกับตนเองธรรมชาติและสิ่งต่างๆรอบตัวที่สำคัญ รวมถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนในระดับประถมศึกษา โดยเป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544
ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
ความหมายของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ
โดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยวิธีการทักษะ
กระบวนการและเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบแบบแผน มีขอบเขตโดยอาศัย
การสังเกต การทดลองเพื่อค้นหาความเป็นจริงและทำให้ได้มาซึ่งความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
1.การเปลี่ยนแปลง
2.ความแตกต่าง
3.การปรับตัว
4.การพึ่งพาอาศัยกัน
5.ความสมดุล
การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
1.ขั้นกำหนดปัญหา 2.ขั้นตั้งสมมติฐาน
3.ขั้นรวบรวมข้อมูล 4.ขั้นลงข้อสรุป
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1.ความอยากรู้อยากเห็น
2.ความเพียรพยายาม
3.ความมีเหตุผล
4.ความซื่อสัตย์
5.ความมีระเบียบรอบคอบ
6.ความใจกว้าง
การนำไปประยุกต์ใช้
-เราสามารถนำไปจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยได้
ประเมินตนเอง
-มีความตั้งใจเรียน และทบทวนบทเรียนเดิม
ประเมินเพื่อน
-ตั้งใจตอบคำถาม และชวยกันคิดหาคำตอบ
ประเมินอาจารย์
-อาจารย์เตรียมเนื้อหาสาระที่จะนำมาสอนได้ครบถ้วน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น