วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 3
บันทึกอนุทิน
วันอังคาร  ที่  2  กันยายน  พ.ศ.2557
เวลา  08.30-12.20 น.

บทความที่่เพื่่อนนำเสนอ
1.เรื่องวิทยาศาสตร์และการทดลอง
2.เรื่องภาระกิจตามหาใบไม้
3.เรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบบูรณาการ
4.เรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
5.เรื่องการเป่าลูกโป่ง

ธรรมชาติเด็กปฐมวัย 3-5 ปี
-พอใจคนที่ตามใจ
-มีช่วงความสนใจสั้น (5-10) นาที
-สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
-อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
-ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้รับคำชม
-ช่วยตนเองได้
-ชอบเล่นแบบคู่ขนาน
-พูดประโยคยาวๆ

นักทฤษฎี หลักการ แนวคิดสู่การปฏิบัติและพัฒนาเด็ก ซึ่งนักทฤษฏีที่อาจารย์นำมาสอนนั้นมีนักทฤษฎีทั้งหมด 8 คน คือ

     1.กีเซล ( Gesell )

     2. ฟรอยด์ ( Freud )

     3.อีริคสัน ( Erikson )

     4. เพีย์เจค์ ( Piaget )

     5.ดิวอี้ ( Dewey )

     6.สกินเนอร์ ( Skinner )

     7.เปสตาลอสซี่ ( Pestalozzi )

     8.เฟรอเบล ( Froeble )


กิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้คือ..................

อาจารย์ให้สรุปเนื้อหาที่เรียนมาในวันนี้ โดยให้ใส่ A4 เป็น Mild map 




การนำไปประยุกต์ใช้
-เราสามารถนำทฤษฎีต่างเหล่านี้นำ มาปรับใช้กับการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยได้

ประเมินตนเอง
-มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนในเนื้อหาวิชานี้ และมีความตั้งใจ สนใจกับสิ่งที่อาจารย์กำลังอธิบายหรือสอนได้เป็นอย่างดีค่ะ

ประเมินเพื่อน
-ให้ความร่วมมือ พร้อมกับช่วยกันระดมความคิดที่จะตอบคำถามในสิ่งที่อาจารย์ถาม

ประเมินอาจารย์
-สอนได้อย่างเข้าใจและสามารถทำให้เรียนรู้ได้เร็วขึ้นค่ะ  








ครั้งที่ 2
บันทึกอนุทิน
วันอังคาร  ที่ 26   สิงหาคม  พ.ศ.2557
เวลา 08.30-12.20  น.

วันนี้เรียนเกียวกับความหมายของวิทยาศาสาตร์

วิทยาศาสตร์
-คือความหมายของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัว
-ความพยายามเช่นนี้ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็ก ความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ
-การทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง โดยการสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอ ช่วยเชื่อมโยงเซลล์ของสมองของเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กๆ เพราะส่งเสริมให้เด็กได้คิด เป็นการเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นในวัยที่สูงขึ้น

เครื่องมือที่ใช้สำหรับในการเรียนรู้มีอยู่ 2 ประเภทคือ 
1. คณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการเรียนรูั
2. ภาษา จะเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ





ความรู้ที่ได้ในวันนี้ คือ..........................

             ได้เรียนรู้เกียวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่าเด็กสามารถที่จะเรียนรู้และรับรู้ในสิ่งนี้ได้มากน้อยเพียงใด เด็กมีพัฒนาการที่เป็นไปตามวัยในเรื่องของวิทยาศาสตร์อย่างไร และเขาสามารถเข้าใจกับวิทยาศาสตร์นี้ได้ โดยการสังเกต อยากเห็น อยากรู้ อยากลอง ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกถึงวัยของเด็กในแต่ล่ะช่วงชั้น เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่ยังเด็ก เราควรที่จะให้ความใส่ใจและสนใจมากในเรื่องของการเรียนรู้ สอนให้เขาได้เรียนรู้ในสิ่งต่าง เราต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้คิด และกล้าแสดงออก เพื่อจะได้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นไปเรื่อยๆ
ครั้งที่ 1
บันทึกอนุทิน
วันอังคาร  ที่ 19  สิงหาคม  พ.ศ.2557
เวลา 08.30-12.20 น.

การเรียนการสอนในวันนี้คือ..................... 
         เปิดเรียนเป็นวันแรก อาจารย์ปฐมนิเทศนักศึกษาในห้องเรียน บอกรายละเอียดของเนื้อหาที่จะต้องสอนและเรียน รวมถึงข้อตกลงภายในห้องเรียน

แนวการสอน (Course Syllabus)
คำอธิบายรายวิชา
ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฎี และหลักการทางวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รูปแบบการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การออกแบบ และวางแผนกิจกรรมบูรณาการประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย การใช้คำถามพัฒนาการคิดการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้

ผลลัพธ์การเรียนรู้
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม
1.1 มีความซื่อสัตย์ สุจริต และเสียสละ
1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.3 เคารพสิทธิ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.4 เคารพกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ของสาขาวิชา คณะและมหาวิทยาลัย
1.5 มีสัมมาคารวะให้ความเคารพต่อครู อาจารย์ และผู้อาวุโส
1.6 ปฏิบัติตนสอดคล้องกับจรรยาบรรณครูปฐมวัย

2.ด้านความรู้
2.1 อธิบายหลักการ ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางวิทยาศาสตร์ได้
2.2 วิเคราะห์และเลือกจิตวิทยาการเรียนรู้ที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม
2.3 อธิบายสาระการเรียนรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
2.4 ออกแบบและเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
2.5 วางแผนประเมินการเรียนรู้สาระและทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้

3. ด้านทักษะทางปัญญา
3.1 คิดและวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
3.2 ประยุกต์ความรู้เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและวางแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างสร้างสรรค์
3.3 ประเมินปัญหาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐฒวัยและสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้เพื่อใช้ในการสนับสนุนหรืออ้างอิงนำสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่
3.4 สรุปองค์ความรู้จากปัญหาและความต้องการนำไปพัฒนาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

4. ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร และนำเสนอได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธฺภาพ
4.2 ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ และแกก้ไขเมื่อพบปัญหา
4.3 แสดงบทบาทผู้นำ และผู้ร่วมทีมงานได้อย่างเหมาะสม
4.4 รับผิดชอบในผลงานของตนเองและกลุ่ม
4.5 แสดงความคิดเห็นหรือประเด็นเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขผลงานทั้งของตนเองและกลุ่มได้
4.6 พัฒนาองค์ความรู้จากการทดลองและศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ที่สร้างเครือข่ายไว้ได้

5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นในปัจจุบันเเพื่อการศึกษาค้นคว้า และเรียนรู้ประสบการณ์ในการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์ในการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
5.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน พร้อมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อมานำเสนอได้อย่างเหมาะสม
5.3 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้น การนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ

6. ด้านการจัดการเรียนรู้
6.1 วางแผน ออกแบบ ปฏิบัติการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ั เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
6.2 เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง เช่น การศึกษากรณีตัวอย่างจากห้องเรียน การสังเกตการสอนแบบต่างๆ การสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน การสัมภาษณ์หรือพูดกับผู้มีประสบการณ์ การทำแผนการสอน การผลิตสื่อประกอบการสอน การทดลองสอนและการจัดแหล่งประสบการณ์เรียนรู้ให้กับเด็ก